ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ห้อมช้าง, จ้าฮ่อม, ฮ่อมช้าง
ห้อมช้าง, จ้าฮ่อม, ฮ่อมช้าง
Phlogacanthus curviflorus Nees
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Acanthaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Phlogacanthus curviflorus Nees
 
  ชื่อไทย ห้อมช้าง, จ้าฮ่อม, ฮ่อมช้าง
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำโจ้,ดอกขม(ลั้วะ), จอเต่อะโกะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ฮ่อมเกี่ยว,ฮ่อมช้าง(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้พุ่ม สูง 1-2 ม. ลำต้นกลวง ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีแกมกว้าง ขนาดกว้าง 12 ซม. ยาว 30 ซม. ก้านใบยาว 5-6 ซม. ดอก สีส้มแดงหรือแดงอิฐ ออกเป็นช่อตั้งที่ปลายยอด มีดอกจำนวนมาก กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน สีเขียวซีด มีขนนุ่ม กลีบดอกเป็นหลอดโค้ง ยาว 5-6 ซม. ด้านนอกมีขนแน่น ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบโค้งออกด้านนอก เกสรผู้ 2 อัน ผล เป็นผลแห้ง รูปร่างรียาว มีสันสี่เหลี่ยมมน ขนาดกว้าง 0.6 ซม. ยาว 3.5 ซม. มี 12-14 เมล็ด
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ดอก มีน้ำหวานที่รับประทานได้(ลั้วะ)
ดอก รับประทานสดกับน้ำพริก หรือนำไปแกง เช่น แกงบอน(ลั้วะ)
ดอกหรือผลอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก มีรสขม(กะเหรี่ยง)
- ใบ ผิงไฟประคบร้อนหรือนำมาตำแล้วเอามานวดหรือถู บริเวณกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ(คนเมือง)
- ใบ ทุบและใช้ขัดตัวทำความสะอาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง